วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ไพล์ไหนใช้โปรแกรมอะไรเปิด



ไพล์ไหนใช้โปรแกรมอะไรเปิด

          เวลาที่เราไปดาวน์โหลดไฟล์มีเดียมาจากอินเทอร์เน็ต อาจต้องหัวเสียกับปัญหาเปิดไฟล์ไม่ได้ เพราะปัจจุบันนี้ไฟล์มีเดียถูกพัฒนาให้มีนามสกุลที่แตกต่างกัน กลายเป็นไฟล์คนละประเภทที่ไม่สามารถเปิดด้วยโปรแกรม Media Player พื้นฐานที่มากับ Windows ได้ ทีนี้ถ้าเราไม่มีความรู้ ไม่รู้จักนามสกุลแบบต่าง ๆ ของไฟล์ เราก็จะไม่รู้ว่าไฟล์ที่มีนามสกุลแบบนี้ ต้องเปิดด้วยโปรแกรมอะไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับไฟล์มีเดียนามสกุลต่าง ๆ กันดีกว่า คราวหน้าคราวหลังไปดาวน์โหลดไฟล์หรือรับไฟล์มาจากคนอื่นจะได้รู้ว่าจะจัดการเปิดมันได้อย่างไร
ไฟล์ AVI
เป็นไฟล์วิดีโอที่ดูผ่านคอมพิวเตอร์ โดยจะสามารถเปิดทั้งภาพและเสียงพร้อมกันได้ทันที ส่วนใหญ่จะนำมาเป็นต้นฉบับของไฟล์วิดีโอบนแผ่นดีวีดี โดยทั่วไปใช้โปรแกรม Windows Media Player เปิดก็ดูได้แล้ว แต่ที่มีปัญหาเล่นไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการ encode ของไฟล์นั้นว่าเป็น DivX codec หรือ XVID codec หรืออื่น ๆ ถ้าอยากรู้ว่าเครื่องมี codec อะไรอยู่ให้กด start/control panel/sound and audio devices/hardware/video codec/properties จากนั้นก็เข้าไปดาวน์โหลดไฟล์ codec จากเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์มาติดตั้งภายในเครื่องก็จะสามารถเปิดไฟล์ AVI ดูได้แล้ว
ไฟล์ DIVX
จะมีนามสกุลเป็น .avi หรือ .divx แต่ไฟล์ แต่มีข้อแตกต่างคือ .avi ไม่จำเป็นต้องเป็นไฟล์ DivX เสมอไป และไฟล์ DivX สามารถเล่นพร้อมกับเลือกแสดง Subtitle ได้หลายภาษา โดยปรับที่ Remote Control บนเครื่องเล่น DVD หรือ หากคุณใช้โปรแกรมเช่น Windows Media Player เล่นไฟล์ประเภทนี้ ท่านอาจจะต้องติดตั้งโปรแกรม แสดง subtitle เพิ่มเติม เช่น โปรแกรม Direct Vobsub เพื่อให้ subtitle ปรากฏไปพร้อม ๆ กับการรับชมภาพยนตร์ด้วย
ไฟล์ XVID
เป็น Open Source ที่ถูกพัฒนาโดยนักพัฒนาอิสระทั่วโลก มีรูปแบบการบีบอัดบนพื้นฐานของ mp4 เหมือนกับ DivX จึงสามารถเล่นบนโปรแกรมหรือเครื่องเล่น DVD ที่สามารถเล่นไฟล์ MP4 หรือ DivX ได้เช่นกัน โดยที่เครื่องเล่นของคุณนั้นต้องสนับสนุนไฟล์ XviD ด้วย แต่ถ้าคุณต้องการเปิดไฟล์ XviD ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ คุณต้องเข้าไปดาวน์โหลดไฟล์ XviD Decoder จากเว็บไซต์ทั่วไปมาติดตั้งเสียก่อน
ไฟล์ 3GP
เป็นไฟล์วิดีโอที่ต้องเปิดดูจากโทรศัพท์มือถือเท่านั้น  เพราะเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กกว่าไฟล์วิดีโอทั่วไป ด้วยความที่ต้องถูกบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กเพื่อใช้บนมือถือ คุณภาพของภาพจึงไม่คมชัดมากนัก แต่หากใครไปดาวน์โหลดไฟล์ 3gp จากอินเทอร์เน็ตแล้วจะมาเปิดดูในคอมพิวเตอร์ ขอบอกไว้ก่อนว่าโปรแกรมดูหนังทั่วไปไม่สามารถเปิดได้ ต้องใช้โปรแกรม Nokia Multimedia Player หรือไม่ก็ต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรมจากอินเทอร์เน็ตมาเปิดดู

ไฟล์ FLV
เป็นไฟล์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายบนเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอผ่านเว็บไซต์ ซึ่ง FLV คือไฟล์วิดีโอที่ถูกสร้างจากโปรแกรม Macromedia Flash เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก แต่คุณภาพดีกว่าไฟล์ 3gp สามารถเปิดดูได้จากโปรแกรม Flash Player หรือ QuickTime จากแอปเปิลก็ได้ ทำให้หลายเว็บนิยมแปลงไฟล์ให้เป็น FLV เพื่อง่ายต่อการชมผ่านเว็บไซต์
พอรู้ลักษณะของไฟล์แต่ละประเภทแล้วว่า ไฟล์แบบไหน ควรใช้โปรแกรมอะไรเปิด คราวหน้าถ้าดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอมาดู ก็จะไม่ต้องว้าวุ่นใจเพราะเปิดไฟล์ไม่ได้อีกต่อไป

การใช้และข้อควรระวังในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น


การใช้และข้อควรระวังในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น


การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

(Microsoft Windows)

เนื้อหาจะเป็นการแนะนำ การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การจับเม้าส์ การกดปุ่มบนเม้าส์ ตลอดจนการเปิดโปรแกรมต่าง ๆ ขึ้นมา การปิดโปรแกรมต่าง ๆ เมื่อไม่ใช้งาน การแก้ไขเครื่องในกรณีเครื่องเกิดอาการ Hang การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง

การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ตรวจสอบปลั๊กเสียก่อนว่า เสียบเรียบร้อยดีหรือไม
2. ที่จอภาพ กดสวิทซ์ เพื่อเปิดจอภาพ
3. ที่ CPU. ด้านหน้า จะมีสวิทซ์ เพื่อเปิดเครื่อง (กดเบา ๆ )
4. เมื่อเปิดเครื่องแล้ว รอสักครู่ ที่จอภาพจะมีข้อความเพื่อตรวจสอบระบบต่าง ๆ
5. จากนั้น จะมีเสียง 1 ครั้ง
6. ที่หน้าจอภาพจะขึ้นคำว่า Windows เป็นการเริ่มต้นการใช้เครื่อง เพราะเครื่องจะต้องเรียกโปรแกรมควบคุมเครื่องที่ชื่อว่า Windows เสียก่อน (จะใช้เวลาประมาณ 3 นาที)
7. จากนั้นหน้าจอภาพจะมีโปรแกรมต่าง ๆ อยู่ด้านซ้าย และด้านล่างจะมีแถบ Task Bar ให้เราทำงานได้

การเลิกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start
2. เลื่อนมาคลิ๊กที่คำสั่ง Shut Down
3. คลิ๊กปุ่ม Ok
4. รอสักครู่เครื่องจะเริ่มทำการปิดระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
5. จากนั้นเครื่องจะดับเอง
6. ยกเว้น จอภาพ ให้กดสวิทซ์ ปิดจอด้วย






ส่วนประกอบของหน้าจอภาพเมื่อเข้าสู่วินโดวส์เรียบร้อยแล้ว

1. ส่วนที่เป็นภาพฉากหลัง เราเรียกว่า ส่วนพื้นจอภาพ (Desk Top)
2.ด้านซ้ายของจอภาพ ส่วนที่เป็นรูปภาพ และมีคำบอกว่าเป็นโปรแกรมอะไร เรียกว่า (Icon) ลักษณะจะเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ที่วินโดวส์ จะนำมาไว้ที่จอภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ
3. ด้านล่างของจอภาพที่เป็นแถบสีเทา เราเรียกว่า (Task Bar) เป็นส่วนบอกสถานะต่าง ๆ โดยที่ด้านขวาของ ทาสบาร์ จะบอกเวลาปัจจุบัน สถานะของแป้นพิมพ์ว่า ภาษาไทย หรือ อังกฤษ โปรแกรมที่ถูกฝังตัวอยู่ ส่วนแถบตรงกลางจะใช้บอกว่า ขณะนี้เราเปิดโปรแกรมอะไรใช้งานอยู่บ้าง ด้านซ้ายของจอภาพ จะมีปุ่มStart ใช้ในการเริ่มเข้าสู่โปรแกรมต่าง ๆ

การกดปุ่มบนเม้าส์ (Mouse) เม้าส์ในปัจจุบันจะมี 2 ปุ่ม ซ้าย และขวา ส่วนถ้าเป็นแบบล่าสุด จะมีปุ่มคล้าย ๆ ล้ออยู่ตรงกลางเพื่อใช้ในการเลื่อน ขึ้น และ ลง บนหน้าจอภาพ (Scroll Bar) ในการกดปุ่มบนเม้าส์นั้น จะมีวิธีกดปุ่มบนเม้าส์อยู่ทั้งหมด 4 วิธีคือ

1. คลิ๊ก (Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเลือกสิ่งต่าง ๆ บนจอภาพ
2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก (Double Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 2 ครั้ง ติดกันอย่างเร็ว ใช้ในการเปิดโปรแกรมที่อยู่ด้านซ้ายของจอภาพ
3. แดร๊ก (Drag) คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ ใช้ในการย้ายสิ่งต่าง ๆ
4. คลิ๊กขวา (Right – Click) คือการใช้นิ้วกลาง กดปุ่ม ขวา ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเข้าเมนูลัดของโปรแกรม (Context Menu)

การเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน เช่น ต้องการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข (Calculator)

1.  คลิ๊กที่ปุ่ม Start ตรงแถบทาสบาร์ด้านล่างซ้ายมือ
2.  เลื่อนเม้าส์เพื่อให้ลูกศรที่จอภาพ ชี้ที่คำว่า Program ตรงนี้ชี้ไว้เฉย ๆ ครับ ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์
3.  เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนก่อน แล้วเลื่อนขึ้นไปที่คำว่า Accessories ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์
4.  เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนอีก แล้วเลื่อนลงมาที่คำว่า Calculator
5. จากนั้นจับเม้าส์ให้ นิ่ง ๆ คลิ๊กเม้าส์ 1 ที (คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง)
6. กรอบต่าง ๆ จะหายไป แล้วเครื่องจะเปิดหน้าต่าง เครื่องคิดเลขขึ้นมา ถือว่าเสร็จขึ้นตอนการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข ขึ้นมาใช้งาน ครับ




การปิดโปรแกรม เครื่องคิดเลข
1. ที่หน้าต่างเครื่องคิดเลข (Calculator) ตรงด้านบน ขวา มือจะมีปุ่มอยู่ 3 ปุ่ม
2. ให้เลื่อนเม้าส์ ไปที่ปุ่มที่ 3 ทางขวามือ (ปุ่มจะเป็นรูป กากบาท X ) เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปวางจะมีคำว่าClose
3. คลิ๊ก 1 ครั้ง เครื่องก็จะปิดหน้าต่างโปรแกรมเครื่องคิดเลขไป

การขยายหน้าต่างของโปรแกรมให้เต็มจอภาพ (Maximize)

1. ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊ก ปุ่มที่สอง เครื่องจะมีข้อความขึ้นมาว่า Maximize (แต่ถ้าหน้าต่าง ถูกขยายขึ้นมาอยู่แล้ว คำจะเปลี่ยนเป็น Restore ถ้าคลิ๊กลงไปจะกลายเป็นหน้าต่าง ขนาดปกติครับ)
2. จากนั้นเครื่องจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอ ส่วนใหญ่เราจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอเพื่อให้เห็นรายละเอียดในหน้าต่างมากขึ้นครับ

การลดขนาดหน้าต่างเป็น Icon ลงใน ทาสบาร์ หรือ การซ่อนหน้าต่าง (Minimize)

1. ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊กปุ่มที่เป็นขีด ลบ ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางจะขึ้นคำว่า Minimize
2. คลิ๊กลงไป 1 ครั้ง เครื่องก็จะซ่อนหน้าต่าง ลงไปไว้ด้านล่างตรงทาสบาร์
3. ที่ทาสบาร์จะมีคำเป็นลักษณะปุ่มเขียนว่า ซ่อนโปรแกรมอะไรไว้
4. แต่ ถ้าอยากเรียกขึ้นมาใช้งานตามเดิม ให้คลิ๊กที่ปุ่มด้านล่างที่ทาสบาร์ที่เราซ่อนเอาไว้ เครื่องก็จะเปิดหน้าต่างโปรแกรมที่เราซ่อนเอาไว้ ขึ้นมาใช้งานได้ตามเดิม
การปิดโปรแกรมที่ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ (Hang) อาการแฮงค์ คืออาการที่เราอาจจะเปิดโปรแกรมขึ้นมาหลายโปรแกรม แล้วทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ทัน หรือเราอาจจะคลิ๊กเม้าส์หลายครั้ง ในขณะที่เครื่องกำลังประมวลผลอยู่ จนเครื่องทำงานไม่ทัน เลยเกิดอาการแฮงค์ ซึ่งอาการแฮงค์นี้จะทำให้เราไม่สามารถคลิ๊กอะไรที่จอภาพได้เลย วิธีการแก้ไขเบื้องต้นคือ
1. ที่แป้นพิมพ์ ให้เรากดปุ่ม Ctrl + Alt ค้างไว้ แล้วอีกมือหนึ่ง กดปุ่ม Delete แล้วปล่อย
2. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง Task Manager ขึ้นมา
3. จากนั้น เราคลิ๊กที่โปรแกรมที่เราคิดว่าทำให้เครื่องแฮงค์
4. ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม End Task เครื่องจะปิดโปรแกรมนั้นทิ้งไป
5. ถ้าไม่มีการปิดโปรแกรมอื่นอีก ก็ให้เลือกปุ่ม Cancel ออกมา

ข้อควรระวังในการใช้คอมพิวเตอร์

1. ใช้เครื่องในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม 
2. มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก 
3. ติดตั้งบนโต๊ะที่แข็งแรง
4. ควรต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับ UPS หรือ   STABILAZER หากกระแสไฟฟ้าไม่คงที่
5. ล้างหัวอ่าน-เขียนของ Disk Drive เป็นประจำ(ทุก 1 หรือ 2 เดือน)
6. ทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่อง  ด้วยตนเอง ทุกๆ 1 เดือน
7. และส่งให้ช่างทำความสะอาดภายในตัวเครื่อง ทุกๆ 3 เดือน
8. ควรรู้จักโปรแกรมประเภท Utilities 
9. หรือ Diagnostic Test เพื่อทดสอบการทำงาน ของเครื่อง ทุกๆ เดือน
10. หลังจากการเลิกการใช้งานเครื่อง ควรหาผ้า มาคลุมเครื่องให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง
11. อย่าปิด หรือ เปิดเครื่องบ่อยๆ   จะทำให้ สวิทช์ หรือเครื่องเสียหายได้ 
12. หรืออาจทำให้ Hard Disk เสียได้ควรตรวจสอบจุดต่อสายต่างๆ เช่น
- ปลั๊กไฟ
          - สายเครื่องพิมพ์
13. พิจารณาก่อน ว่าเครื่องเสียจาก Software หรือ Hardware 
14. ในกรณี Hardware มักมีข้อความ Error ปรากฏให้เห็น ให้จดไว้
15. กรณีที่มีเครื่องชนิดเดียวกันหลายๆ เครื่อง ให้ทดลองสลับเปลี่ยนกันดู
16.  พยายามทบทวนว่า ครั้งสุดท้าย ก่อนที่เครื่องจะเสีย เราได้ทำอะไรกับเครื่องไปบ้าง
17. ถ้าตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ มีควันขึ้น ให้รีบถอดปลั๊กไฟ แล้วส่งซ่อมทันที
18. บางทีเครื่องอาจจะ Hang ให้ทดลอง ปิดเครื่อง ทิ้งไว้ 10 วินาที  แล้วเปิดเครื่องใหม่อาจจะใช้ได้
19. ห้ามเคลื่อนย้ายตัวเครื่อง  ในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน
20. ควรมีตารางเวลาสำหรับการสำรอง  ข้อมูลสำคัญๆ ทุกๆ 1 หรือ 2 สัปดาห์
21.  การถอดและเสียบสายคีย์บอร์ดและเมาส์    ให้สังเกตว่าด้านหัวเสียจะมีขายื่นออกไปหลายขา (อาจเรียกว่าหัวตัวผู้) และด้านช่องสำหรับเสียบก็มีรูเล็กหลายรู (อาจเรียกว่าหัวตัวเมีย)   ผู้ใช้ต้องหันขาทุกขาและรูทุกรูให้ตรงกัน ก่อนจะเสียบเข้าไปได้  ถ้าหากขาและรูเสียบไม่ตรงกันจะทำให้ขาหักต้องซื้อคีย์บอร์ดหรือเมาส์ใหม่สถานเดียว เพราะซ่อมไม่ได้
22.  การถอดและใส่ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ซึ่งมีขาและรูถึงประมาณ 20 คู่  ผู้ใช้ต้องเสียบให้ขาตรงรูทุกรู  เช่นเดียวกับข้อหนึ่ง   ถ้าเสียบไม่ตรงรู  อาจทำให้ขาหักต้องเสียค่าซ่อมไม่น้อยกว่า 300 บาทขึ้นไป 
23.  การเสียบปลั๊กไฟแบบ 2 ขา หรือ 3 ขา   ผู้ใช้ต้องสังเกตให้ดี  ว่ามีรูเสียบจำนวนพอดีกับจำนวนขาเสียบ   จะไปเอาปลั๊ก 3 ขา ไปเสียบรู 2 รู คงเป็นไปไม่ได้
24.การถอดแรมใส่แรม     ผู้ใช้ต้องรู้จักชนิดของแรมของตัวเอง  ว่า เป็นแรมแบบใด  เช่น  SD Ram  ,  DDR Ram  , DDRII Ram ,  แรมแต่ละชนิดมีร่องบากที่แถบทองแดงไม่เท่ากัน    และช่องเสียบแรม (Slot) ก็ไม่เหมือนกันด้วย   ผู้ใช้ไม่สามารถใช้แรมชนิดหนึ่ง  ไปเสียบช่องเสียบของแรมอีกชนิด  เพราะร่องบากไม่ตรงกัน
25.  การถอดและใส่ซีพียู    ผู้ใช้ต้องรู้จักวางมุมของซีพียูให้ถูกต้อง  จึงจะสามารถใส่ซีพียูลงในช่อง (Socket) ได้  และซีพียูต่างรุ่นกัน  ไม่สามารถเสียบช่องแบบเดียวกันได้  ผู้ใช้มือใหม่ไม่ควรเสี่ยง ถ้าทำไม่เป็น  เพราะถ้าขาซีพียูหัก หาช่างซ่อมยากหรือซ่อมไม่ได้   ต้องซื้อใหม่ราคาหลายพันบาท
26.  การใส่น็อดไม่ครบ ทำให้คอมเสียเร็ว    เช่น ผู้ใช้บางคนใส่น็อดฮาร์ดดิสก์ เพียง 2 ตัว  ทั้งที่ความจริงต้องใส่ 4 ตัว  เป็นสาเหตุให้ฮาร์ดดิสก์เกิดการเขย่าตัว  สั่นสะเทือน  ขณะที่ฮาร์ดดิสก์ทำงาน  ทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์พังเร็วขึ้นหรือเกิด Bad Sector (พื้นผิวฮาร์ดดิสก์เสีย)  ต้องซื้อใหม่ราคาหลายพันบาท  และบางทีอาจไม่สามารถกู้ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่เสียคืนได้เลย
27.  ควรทำความสะอาดฝุ่นภายในเคสอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง   จะช่วยไม่ให้เกิดปัญหาเมนบอร์ดช็อต   ฝุ่นเกาะติดพัดลมมากจะทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี   คอมพิวเตอร์มีโอกาสแฮงค์บ่อย
28.  ควรทำความสะอาดฝุ่นที่ติดหน้าจอคอมพิวเตอร์    เพราะถ้ามีฝุ่นมาก  จะทำให้มองภาพไม่ชัด   และอีกประการหนึ่งอาจเกิดประจุไฟฟ้า เมื่อเอามือไปจับหน้าจอ  ทำให้เกิดอาการคล้ายไฟฟ้าดูด
29.  ควรใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ  เช็ดทำความสะอาดภายนอกตัวเคส  ภายนอกจอ   คีย์บอร์ด  เมาส์  เพื่อกำจัดฝุ่นที่ติดอยู่ออกไป  ให้อุปกรณ์สะอาดดูน่าใช้  ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคทางลมหายใจ
30.  ไม่ควรครอบเคส และจอด้วยผ้าคลุมทันทีหลังปิดเครื่องคอมพิวเตอร์    ควรปล่อยให้ความร้อนภายในเครื่องระบายออกไปให้หมดก่อนจึงครอบ
31.  คีย์บอร์ดที่ตัวหนังสือลบเลือน อย่าเพิ่งทิ้ง  ควรไปซื้อสติกเกอร์ตัวหน้าสือและตัวเลขสำหรับมาติดคีย์บอร์ด (Keyboard Stickers)  ซึ่งมีขายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 
32 .  ระวังไฟดูดในกรณีต่อไปนี้
 - ตัวเปียก  เท้าเปียก  ถ้าเอามือแตะเคสส่วนที่เป็นโลหะ  ไฟจะดูด
          - ยืนเท้าเปล่า หรือใส่ถุงเท้าบนพื้นปูน  ถ้าเอามือแตะเคสส่วนที่เป็นโลหะ  ไฟจะดูด  ต้องใส่รองเท้าที่ไม่เปียก เอามือแตะไฟจึงจะไม่ดูด
         - ถ้ายังเสียบสายไฟต่อกับจอ และเคส  อยู่  ไม่ควรเอามือแตะเมนบอร์ด  แรม   การ์ดต่างๆ  หรืออุปกรณ์ต่อเชื่อมกับเมนบอร์ดที่อยู่ในเคส ไฟจะดูด
          - USB Hub  บางยี่ห้อ  เมื่อเอาสายเสียบต่อจากเคส  จะมีไฟรั่วมาที่ตัว Hub ด้วย   ถ้าตัวเปียก หรือยืนเท้าเปล่าบนพื้นปูน  แล้วเอามือไปแตะ  ไฟจะดูด